วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

ผังมโนทัศน์


วิเคราะห์วิจารณ์

คุณค่าด้านเนื้อหา
   เเนวคิด  เรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง  เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก  รักและตามใจทุกอย่าง แม้นกระทั่วตัวตายก็ยอม
     ฉาก ตอนศึกกะหมังกุหนิงจะปรากฎฉากรบที่ชัดเจน  มีการตั้งค่าย  การใช้อาวุธ  และการต่อสู้ของตัวละครสำคัญ
     ปมขัดเเย้ง  ตอนศึกกะหมังกุหนิง  มีหลายข้อแย้ง  แต่ละปมปัญหาเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริง  และสมเหตุสมผล  เช่น
          ปมแรก  คือ  ท้าวกุเรปันให้อิเหนาอภิเษกกับบุษบา  แต่อิเหนาหลงรักจินตะหราไม่ยอมอภิเษกกับบุษบา

          ปมที่สอง  คือ อ่านเพิ่มเติม

ความรู้เพิ่มเติม

กลอนบทละคร เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการเล่นละคร ต้องอาศัยทำนองขับร้องและเครื่องดนตรีประกอบ แต่งเสร็จต้องนำไปซักซ้อมปรับปรุง ดังนั้น จำนวนคำของแต่ละวรรคจึงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจังหวะขับร้องเป็นสำคัญ ว่าโดยหลักมีแต่ ๖ คำ ถึง ๙ คำ แต่ที่ปรากฏว่าใช้มากสุด คือ ๖ คำ เช่นเรื่องรามเกียรติ์ เฉพาะวรรคแรกขึ้นต้น ใช้ ๒ คำ ถึง ๔-๕ คำ บางคราวก็ส่งสัมผัสไปยังวรรคที่ ๒ บางคราวก็ไม่ส่ง คำที่ใช้เช่น เมื่อนั้น, บัดนี้, น้องเอ๋ยน้องรัก แม้กลอนสดับ จะใช้คำพูดเพียงสองคำ ก็ถือถือว่าเต็มวรรค โดยลักษณะสัมผัสใน อ่านเพิ่มเติม

ข้อคิดที่ได้รับ

๑.ความกล้าหาญ ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อข้าศึกศัตรู
๒.ความรักในศักดิ์ศรี การมีขัตติยมานะหรือความสำนึกในเกียรติแห่งวงศ์ขอตนเอง
๓.รักษาคำสัตย์ การรู้จักรักษาคำพูดเมื่อพูดอย่างไรก็ต้องทำตาม
๔.การรู้จักให้อภัย การไม่ถือโทษโกรธแค้นกันและกัน
๕.ความรักและความหลงใหลควรรู้จักแยกแยะให้ออกระหว่างความรักและควาหลง

จุดมุ่งหมายในการเเต่ง

จุดมุ่งหมาย แต่งขึ้นเพื่อแสดงการเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นนักรบ นักปกครอง และทรงสร้างเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมากกษัตริย์พระองค์นี้มีพระนามว่า ไอรลังคะ


ลักษณะการเเต่ง

บทละครรำเรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งเป็นกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่วรรคแรกมักขึ้นต้นด้วยคำว่า เมื่อนั้นใช้กับตัวเอกของเรื่องหรือตัวละครที่เป็นกษัตริย์ คำว่า บัดนั้นใช้กับตัวละครสามัญ และคำว่า มาจะกล่าวบทไปใช้เมื่อขึ้นตอนหรือเนื้อความใหม่   สำหรับจำนวนคำในแต่ละวรรค อาจจะมีไม่เท่ากัน เพราะจะต้องให้เหมาะสมกับท่ารำทำนองเพลง นอกจากนี้ยังต้องมีการกำหนดเพลงหน้าพาทย์สำหรับประกอบกิริยาอาการตัวละครเช่น เชิด เป็นต้น ร่าย เป็นต้น พร้อมทั้งบอกจำนวนคำในบทนั้นด้วย คือ 2 วรรค เป็นหนึ่งคำกลอน 

ที่มาเเละความสำคัญ


คำศัทพ์จากเรื่องอิเหนา

กระทรวง          หมู่
กระยาหงัน        สวรรค์
กราย                เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทีหรือลีลาในการใช้อาวุธ
กลับกลอก        พลิกไปพลิกมา ที่นี้หมายถึงขยับอาวุธ
กล่าว                ที่นี้หมายถึง สู่ขอ
กะระตะ             กระตุ้นให้ม้า้เดิน หรือ วิ่ง
กั้นหยั่น            อาวุธ สำหรับเหน็บติดตัว
กัลเม็ด              ปุ่มที่ฝักอาวุธ

กิดาหยัน          ผู้รับใช้ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน  อ่านเพิ่มเติม

เนื้อเรื่องย่อ

ในชวาสมัยโบราณ มีกษัตริย์ปกครองเมืองใหญ่เมืองน้อย กษัตริย์วงศ์เทวาซึ่งถือว่าเป็นชาติตระกูลสูงสุด ด้วยสืบเชื้อสายมาจากเทวดา ใช้คำนำหน้าพระนามว่า ระเด่น ส่วนกษัตริย์นอกวงศ์นั้น ใช้คำว่า ระตู เริ่มต้นบทละครเรื่องนี้ กล่าวถึงกษัตริย์วงศ์ 4 องค์ ต่างเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา ทรงพระนามว่าท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง ท้าวสิงหัดส่าหรี ครองเมือง 4 เมือง ซึ่งมีชื่อเช่นเดียวกับพระนามกษัตริย์ ทุกพระองค์ต่างก็มีมเหสี 5 องค์ ตามประเพณี เรียงลำดับศักดิ์ คือ ประไหมสุหรี มะเดหวี มะโต ลิกู และเหมาหลาหงี อ่านต่อ

ลักษณะคำประพันธ์

                บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า เมื่อนั้น” “บัดนั้นและ มาจะกล่าวบทไป”  กลอนบทละคร บทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๖ คำ หนึ่งบทมี ๒ บาท เรียกว่าบาทเอก  และบาทโท ๑ บาท เท่ากับ ๑ คำกลอน   มีลักษณะการสัมผัสดังนี้ อ่านต่อ

ประวัติผู้เเต่งอิเหนา

               พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอิศรสุนทรฯพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(ร.2)แห่งราชจักรีวงศ์ มีพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีศรีสินทรบรมมหา จักรพรรดิ์ราชาธิบดินทร์ ธรณินทร์ทราธิราช รัตนากาศภาสกรณ์วงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตรนราชชาติอาชาวศรัยสมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาราธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ มหิริทราธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมมิกราชาธิราชเดโชชัย อ่านต่อ

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

                อิเหนาเป็นวรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ พ.ศ. 2275 – 2301) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหน อ่านต่อ